วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (อธิบาย สรุป จากการชมภาพยนตร์ Inside Out)

เรื่องย่อ Inside Out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง


Riley (ไรลีย์) เด็กสาวอายุ 11 ปี ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน แต่ใครจะรู้ว่าในหัวของเธอนั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ  Joy,  Sadness , Anger, Disgust และ Fear

Joy (ลั้นลา) สาวน้อยสีเหลืองสดใส อุทิศตนเองกับเป้าหมายที่ทำให้ไรลีย์มีความสุขอยู่เสมอ
Sadness (เศร้าซึม) สาวสีฟ้าร่างท้วม ชอบคอตก มักพูดยานคาง อยากทำให้ไรลีย์มีความสุขเช่นกัน แต่มันเป็นงานที่ยากมหาโหดสำหรับเธอเกิ๊น
Anger (ฉุนเฉียว) คาแรคเตอร์สีแดงร้อนแรงใช้ชีวิตบนการสร้างความยุติธรรมให้กับไรลีย์ไม่ยอมให้ใครมารังแกเธอ
ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการตอบสนองที่รุนแรง
Disgust (หยะแหยง) สาวสังคมสีเขียว ดูมั่นใจ เธอมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะมาทำร้ายไรลีย์
Fear (กลั๊วกลัว) คาแรคเตอร์สีม่วง ดูช่างพินิจพิเคราะห์ ช่วยปกป้องไรลีย์จากอันตรายเช่นกัน แต่เป็นแบบลังเล ๆ กังวล ๆ
          แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ Riley ก็คือ Joy คอยทำให้เธอเป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของ Riley จะถูกเก็บเป็นลูกบอล ความทรงจำ” (Memory) ความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ ความทรงจำระยะยาว” (Long-term memory) และในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า ความทรงจำหลัก” (Core memory) และเหล่า Core memory นี้เอง ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัว (Personality) ต่อไป ซึ่งในเรื่องนั้น Core memory เหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ Riley ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ชีวิตของเธอมีแต่ความสุข (เป็นส่วนมาก) แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอได้ จนกระทั้ง เธอต้องย้ายบ้าน


Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงกับทฤษฎีเชาว์ปัญญา
          ทฤษฎีเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่า คนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และโดยธรรมชายของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) มนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม (Organization) และการปรับตัว (Adaptation) อย่างเช่น ไรลีย์ ตัวละครหลักของเรื่อง ในตอนเด็กๆ ไรลีย์ เป็นเด็กที่ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ก็จะเก็บรวบรวมความทรงจำที่ดีไว้เป็น ความจำหลัก พอโตขึ้น ไรลีย์ ได้ย้ายบ้านใหม่ไปอยู่อีกเมืองหนึ่ง ซึ่งในช่วงแรกๆ อาจจะยังปรับตัวเข้าไม่ได้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา ไรลีย์  ได้เรียนรู้ที่จะสร้างมิตรภาพกับเพื่อนในทีมฮอกกี้ และค้นพบว่าตัวเองมีความสามารถในการเล่นฮอกกี้ได้ดี

          ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
ทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยง (Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมที่มีมาก่อน อย่างไรลีย์ ที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังใหม่ โรงเรียนใหม่ เพื่อนใหม่ เมื่อไรลีย์สามารถปรับตัวได้ก็จะกลับมาร่าเริงสดใสเหมือนเดิม

          ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ มุ่งเน้นที่จะศึกษากระบวนการรู้คิด ลำดับขั้นของการประมวลข่าวสาร และเรียกความรู้ต่างๆ จากความจำระยะยาวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อไรลีย์ ได้ถูกล้างความทรงจำในวัยเด็ก เมื่อเขากลับกลับมาจำได้อีกครั้ง เขาจะเก็บความทรงจำนี้ไว้ตลอดไป 

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป บทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)



การเรียนรู้
          การเรียนรู้ตามแนวคิดกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associationism)
          เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)  เป็นพฤติกรรมที่แสดงออก สามารถสังเกตจากภายนอกได้ ในแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีฐานความคิดที่สำคัญ คือ 1.) พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้ และสามารถสังเกตได้ 2.) พฤติกรมทุกชนิดเป็นผลรวมของการเรียนเป็นอิสระหลายอย่าง 3.) การเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ (สุรางค์, 2544)

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
          แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
          นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลโนเบล จากงานวิจัยเรื่อง สรีรวิทยาการย่อยอาหารเมื่อปี ค.. 1904 ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตเห็นสุนัขจีมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับประทานอาหารมาก จึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งพาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อไปนี้





สุนัขน้ำลายไหลออกมา เมื่อผู้ทดลองนำอาหารมาให้




สั่นกระดิ่งก่อน และให้อาหารหรือผงเนื้อ ควบคู่กันหลายๆครั้ง




เมื่อหยุดให้อาหาร แต่สั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียว
สุนัขก็ยังคงน้ำลายไหล สุนัขจึงเกิดการเรียนรู้








การทดลองของ พาฟลอฟ (Pavlov)


          
           พาฟลอฟได้สรุปว่า ที่สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงสั่นกระดิ่ง แสดงว่าสนุขเกิดการเรียนรู้ เพราะสามารถเชื่อโยงเสียงสั่นกระดิ่ง กับการให้อาหาร

              แนวคิดของวัตสัน (Watson)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้ริเริ่ม คำศัพท์ Behaviorism  เพราะมีความคิดเห็นว่าจิตวิทยาเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น ควรจะศึกษาพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้อย่างเด่นชัดเท่านั้น และควรเป็นการศึกษาที่เป็นปรนัย มากกว่า เป็นอัตวิสัย ที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของคน
          วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคกับมนุษย์ เรื่อง ความกลัววัตสันได้ทำการทดลองกับทารกอายุประมาณ 8-9 เดือน ชื่อ อัลเบิร์ต (Albert)  โดยได้ทำการทดลองดังนี้



ในธรรมชาติของเด็กเล็ก จะกลัวเสียงดังที่เกิดขึ้นกะทันหัน



ปล่อยให้อัลเบิร์ตเล่นกับหนู ในขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือจะไปจับหนู ก็ใช้ค้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น

การทดลองของวัตสัน (Watson)

ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)  คือ “ความกลัว” วัตสันได้ทำการทดลองเช่นนี้ถึงเจ็ดครั้ง ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าหลังจากนั้นอัลเบิร์ตเห็นแต่เพียงหนู ก็แสดงความกลัวทันที

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
                แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
                ธอร์นไดค์ เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา และเป็นผู้คิดทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า กับ การตอบสนอง ที่เรียกว่า S – R โมเดล อีกทั้งให้ความสำคัญกับการเสริมแรง (Reinforcement) ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ซึ่งธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองดังต่อไปนี้

ธอร์นไดค์ได้จับแมวที่กำลังหิวในไว้ในกรงมีสลักปิดไว้ และนำจานอาหารวางไว้นอกกรง 



แมวจะเดินไป เดินมาในกล่อง พยายามหาทางออกข้างเพื่อไปกินอาหาร ในขณะนั้นก็บังเอิญไปจับถูกสลัก



และสามารถเปิดประตูออกมากินอาหารได้

          และจากการสังเกตครั้งต่อๆ มาแมวใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหาร ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมว ว่าเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) ไม่ใช่การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และเชื่อว่าการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าค้นพบรูปแบบการตอบสนองที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่สุด ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
1.      กฎแห่งเหตุผล (Low of Effect) สิ่งเร้าไดที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้ว ทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้ว จะเป็นผลที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ
2.      กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่ายงกาย และจิตใจ
3.      กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ทำซ้ำๆบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นอาจไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมไปได้
4.       กฎแห่งการใช้ (Low  of Use and Disuse) การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบ สนอง ถ้าได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำมาใช้บ่อยๆ ก็อาจเกิดการลืมได้

          แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
เบอร์รัส สกินเนอร์ ชาวอเมริกัน นักจิตวิทยาที่เป็นผู้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Operant Conditioning” หรือ “Instrumental Conditioning” ทฤษฎีของสกินเนอร์ยังสอดคล้องกับธอร์นไดค์เกี่ยวกับการเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ แต่จะแตกต่างกันที่ว่า สกินเนอร์จะคิดว่าการเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนองไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามแนวความคิดของธอร์นไดค์ สกินเนอร์ได้ทำการทดลองดังนี้



การทดลองโดยปล่อยหนูที่หิวอาหาร เข้าไปใน Skinner Box ภายในกล่องมีคาน 
ซึ่งเมื่อหนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีเสียงดังแกรก

การทดลองของสกินเนอร์ (Skinner)

การเสริมแรง (Reinforcement)
สกินเนอร์กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เป็นพฤติกรรมประเภท  Behavior ซึ่งสิ่งที่มีชีวิต Organism ทั้งคนและสัตว์เป็นผู้เริ่มที่จะกระทำ Operate ต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า Instrumental Conditioning และการเรียนรู้แบบ Operant Conditioning นั้น ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเองเปรียบดังเช่นหนูต้องกดคานจึงจะได้รับอาหาร มิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เหมือนกับการเรียนรู้แบบ Classical Conditioning  สกินเนอร์ได้แบ่งการเสริมแรงเป็น 2 ประเภท คือ เสริมแรงทางบวก และ เสริมแรงทางลบ


วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

นวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา

นวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา

1.  MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เเละเพราะอะไร
ตอบ MOOCs เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เพราะ MOOCs เป็นการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เปิดเสรีให้ใครก็ได้สามารถสมัครเข้าเรียน

2.  ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาเเบ่งออกได้กี่ประเภทเเละเเต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ   5 ประเภท
 1.นวัตกรรมหลักสูตร
ข้อดี ทำให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพเเวดล้อมในท้องถิ่นเเละตอบสนองความต้องการ ในการจัดการเรียนการสอนที่ก้าวหน้าทันสมัยมากยิ่งขึ้น

 2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
 ข้อดี  เป็นการคิดค้นเเละหาเเนวทางในการเรียนการสอนเเบบใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สภาพเเวดล้อม รวมถึงปัจจัยต่างๆ

 3.นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี ทำให้เป็นตัวเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนเรื่องนั้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น เเละเป็นเเรงพลักดันให้เด็กๆมีความสนใจเเละเเรงจูงใจในการเรียนเพิ่มยิ่งขึ้น

   4.นวัตกรรมการประเมินผล
ข้อดี ใช้เครื่องมือในการวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ข้อดี เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์


3.  สมมุติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความเเตกต่างระหว่างบุลคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนเเละเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษานั้น
   ตอบ   คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction   เพราะ CAI เป็นสื่อการสอนในรูปแบบหนึ่งที่มี ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนได้ใกล้เคียงห้องเรียนมากที่สุด โดยมีเป้าหมายสำคัญคือดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียน เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่เรียนตัวต่อตัว ซึ่งให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับสื่อได้ รวมทั้งสามารถที่จะประเมินคามเข้าใจของผู้เรียนแต่ละบุคคลได้ง่าย

4.  ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องรู้เเเละเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ  การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นนักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆเพื่อสามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง

5.  นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างเเพร่หลายในปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายข้อดีเเละข้อจำกัด ของนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา1ประเภท
ตอบ  CAI : Computer Assisted Instruction
           ข้อดี 
          1.CAI เป็นการเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อของผู้เรียนเป็นรายบุคคลที่ดี สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถของแต่ละบุคคลที่เรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคนโดยให้ผู้เรียนไม่ต้องรอ เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทุกคนได้ในเวลาเดียวกัน
         2. ผู้เรียนจะเรียนสามารถเรียนที่ไหนเมื่อก็ได้
         3.ผู้เรียนสามารถเรียนจากสื่อประสม
         4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเอง ในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ เนื่อง จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำ
         
         ข้อจำกัด
          1. การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เมื่อเทียบกันการออกแบบโปรแกรมด้านอื่นแล้ว ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตที่จำกัดที่นำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
          2. ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน
          3. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้สอนออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นั้นว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และสามารถ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้เรียน
         4.เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้