วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา (อธิบาย สรุป จากการชมภาพยนตร์ Inside Out)

เรื่องย่อ Inside Out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง


Riley (ไรลีย์) เด็กสาวอายุ 11 ปี ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน แต่ใครจะรู้ว่าในหัวของเธอนั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ  Joy,  Sadness , Anger, Disgust และ Fear

Joy (ลั้นลา) สาวน้อยสีเหลืองสดใส อุทิศตนเองกับเป้าหมายที่ทำให้ไรลีย์มีความสุขอยู่เสมอ
Sadness (เศร้าซึม) สาวสีฟ้าร่างท้วม ชอบคอตก มักพูดยานคาง อยากทำให้ไรลีย์มีความสุขเช่นกัน แต่มันเป็นงานที่ยากมหาโหดสำหรับเธอเกิ๊น
Anger (ฉุนเฉียว) คาแรคเตอร์สีแดงร้อนแรงใช้ชีวิตบนการสร้างความยุติธรรมให้กับไรลีย์ไม่ยอมให้ใครมารังแกเธอ
ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการตอบสนองที่รุนแรง
Disgust (หยะแหยง) สาวสังคมสีเขียว ดูมั่นใจ เธอมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะมาทำร้ายไรลีย์
Fear (กลั๊วกลัว) คาแรคเตอร์สีม่วง ดูช่างพินิจพิเคราะห์ ช่วยปกป้องไรลีย์จากอันตรายเช่นกัน แต่เป็นแบบลังเล ๆ กังวล ๆ
          แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ Riley ก็คือ Joy คอยทำให้เธอเป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของ Riley จะถูกเก็บเป็นลูกบอล ความทรงจำ” (Memory) ความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ ความทรงจำระยะยาว” (Long-term memory) และในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า ความทรงจำหลัก” (Core memory) และเหล่า Core memory นี้เอง ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัว (Personality) ต่อไป ซึ่งในเรื่องนั้น Core memory เหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ Riley ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ชีวิตของเธอมีแต่ความสุข (เป็นส่วนมาก) แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเธอได้ จนกระทั้ง เธอต้องย้ายบ้าน


Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงกับทฤษฎีเชาว์ปัญญา
          ทฤษฎีเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่า คนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และโดยธรรมชายของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) มนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม (Organization) และการปรับตัว (Adaptation) อย่างเช่น ไรลีย์ ตัวละครหลักของเรื่อง ในตอนเด็กๆ ไรลีย์ เป็นเด็กที่ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ก็จะเก็บรวบรวมความทรงจำที่ดีไว้เป็น ความจำหลัก พอโตขึ้น ไรลีย์ ได้ย้ายบ้านใหม่ไปอยู่อีกเมืองหนึ่ง ซึ่งในช่วงแรกๆ อาจจะยังปรับตัวเข้าไม่ได้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา ไรลีย์  ได้เรียนรู้ที่จะสร้างมิตรภาพกับเพื่อนในทีมฮอกกี้ และค้นพบว่าตัวเองมีความสามารถในการเล่นฮอกกี้ได้ดี

          ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
ทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยง (Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมที่มีมาก่อน อย่างไรลีย์ ที่จะต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตในบ้านหลังใหม่ โรงเรียนใหม่ เพื่อนใหม่ เมื่อไรลีย์สามารถปรับตัวได้ก็จะกลับมาร่าเริงสดใสเหมือนเดิม

          ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ มุ่งเน้นที่จะศึกษากระบวนการรู้คิด ลำดับขั้นของการประมวลข่าวสาร และเรียกความรู้ต่างๆ จากความจำระยะยาวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อไรลีย์ ได้ถูกล้างความทรงจำในวัยเด็ก เมื่อเขากลับกลับมาจำได้อีกครั้ง เขาจะเก็บความทรงจำนี้ไว้ตลอดไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น